พระยารัษฏานุประดิษฐ์

พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) (จีน:許心美) (8 เมษายน พ.ศ. 2400 - 10 เมษายน พ.ศ. 2456) เจ้าเมืองตรัง ผู้พัฒนาเมืองตรังให้เจริญก้าวหน้าจนกลายเป็นเมืองเกษตรกรรม และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต.

หอนาฬิกาเมืองตรัง

หอนาฬิกาเมืองตรัง

พะยูนหรือดูหยง

พะยูนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบได้เฉพาะที่ทะเลตรัง

หาดปากเมง

หาดปากเมง หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของจังหวัดตรัง

รถตุ๊กตุ๊ก

รถตุ๊กตุ๊กสามล้อหัวกบ พบได้ที่เฉพาะเมืองตรัง

21 เมษายน 2554

พิพิธภัณฑ์ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี จ.ตรัง



หลายคนที่เคยได้แวะผ่านไปมา เมืองเล็ก ๆ ในจังหวัดภาคใต้ เช่นจังหวัดตรัง กันมาก็คงจะคุ้นหูคุ้นตากับคำขวัญจังหวัดตรังกันบ้างแล้ว ,,ทริปนี้ หมูหินได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนเมืองตรัง,,เมื่อครั้งตอนไปออกทริปในโครงการ เที่ยวไทย ครึกครื้นเศรษฐกิจ ไทยคึกคัก กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงได้มีโอกาสเก็บสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ของเมืองตรังมาฝากเพื่อน ๆ ด้วยค่ะ,,เริ่มจากพาไปทำความรู้จักกับเจ้าของเมือง และกราบไหว้ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ที่พิพิธภัณฑ์พระยายารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เป็นที่ตั้งของสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ "จวนเก่าเจ้าเมืองตรัง" หรือบ้านพักอดีตเจ้าเมืองตรังพระยารัษฎานุประดิษฐ์ เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งและเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของท่านอย่าง ครบถ้วน โดยทายาทตระกูล ณ ระนอง เป็นผู้ดูแลรักษา

เพียงแค่เดินผ่านประตูเหล็กเข้ามาเท่านั้น ก็สัมผัสได้ถึงความขลังของ บ้าน (ที่ตอนนี้เค้าเรียกว่า พิพิธภัณฑ์) บรรยากาศที่นี่ ร่มรื่นมากค่ะ กลมกลืนกับบ้านไม้สีเขียวสองชั้น ,, น่าอยู่ทีเดียว ที่นี่มีต้นไม้แปลกประหลาดหลายชนิด ที่เรายังไม่เคยได้เห็นได้รู้จักกันเลยค่ะ ถ้าแวะไป,,ลองไปสำรวจนะคะ ว่ามีต้นอะไรกันบ้าง

สำหรับตัวบ้านพัก เป็นเรือนไม้ปั้นหยาสองชั้น ตัวบ้านโปร่ง มีระเบียงรับลมโดยรอบ ภายในได้รับการพัฒนาและปรังปรุงดูแลรักษาอย่างดี ส่วนใหญ่จะยังคงจัดแต่งไว้เช่นเดียวกับ เมื่อครั้งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีอาศัยอยู่ ชั้นล่างมีหุ่นขี้ผึ้งรูปพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ใส่เสื้อคอปิดสีขาว นุ่งผ้าม่วง ถือไม้เท้า อยู่ในอิริยาบถนั่งเก้าอี้พักผ่อน ข้างๆ มีกระโถนทองเหลืองและเชี่ยนหมากแบบโบราณชั้นบนมีห้องนอนและมีหุ่นขี้ผึ้งรูป พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี อีกรูปหนึ่งแต่มีสีดำ

“พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศร ภักดี" หรือ "ท่านคอซิมบี้" หลายคนรู้จักท่านดี ในฐานะพ่อเมืองตรังในอดีต ผู้พัฒนาเมืองตรังให้เป็นศูนย์กลางการสัญจร โดยการตัดเส้นทางผ่านเทือกเขาบรรทัดระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง และเป็นผู้ที่นำยางพาราต้นแรกมาปลูกในภาคใต้ของประเทศไทย แต่น้อยคนนักจะทราบถึงถิ่นพำนักของท่านในอดีต คือ อำเภอกันตัง
เขียนเรื่องเกี่ยวกับเกาะต่างๆ ของตรังหลายเรื่องแล้วเบื่อครับ เขียนเรื่องของเมืองตรังบ้างดีกว่า มาเริ่มเรื่องแรกก้ เจ้าเมือง ตรัง คนแรก ( ที่มีชื่อเสียง ) ที่พิพิธภัณฑ์ นี่เป็ยบ้านเดิมของท่านครับ

พ.ศ.2433 พระยารัษฎาฯ มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง และได้ย้ายที่ตั้งเมืองจากควนธานี ไปกันตังเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.2436 พร้อมกับสร้างจวนเจ้าเมืองขึ้น ดังปรากฎใน “จดหมายเหตุประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128″ ของเจ้าฟ้าวชิราวุธ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (ภายหลัง คือรัชกาลที่ 6) ว่า

“ครั้นทรงรถประพาสทั่วแล้วได้เสด็จไปที่บ้านเช่าคุณรัษฎา ซึ่งตั้งอยู่ที่ควนตรงข้ามกับตำหนัก ที่นี่ท่านจองไว้เมื่อครั้งท่านมาเป็นเจ้าเมือง มีควนอยู่ที่นั่นด้วย ท่านให้นามว่า ควนรัษฎา ที่ทางของท่านน่าสบาย ร่มรื่นดี มีเรือนใหญ่อยู่หลังหนึ่งมีห้องหับมาก ใต้ถุนใช้เป็นที่หัดทอผ้า มีผู้หญิงมานั่งทอผ้าอยู่มาก…” ปัจจุบัน สถานที่นี้คือ บ้านเลขที่ 1 ถ.ค่ายพิทักษ์ อ.กันตัง จ.ตรัง

ซึ่งเป็น บ้านพักของพระยารัษฏานุประดิษฐ์ ครั้งเป็นเจ้าเมืองตรังที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรังเป็นเรือนไม้แบบเก่า ทรงปั้นหยา สองชั้น สีฟ้า อยู่บนเนินท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติและแมกไม้เขียวชอุ่ม อยู่ในความ ดูแลของทายาทตระกูล คือ นายเบียนเจง ณ ระนอง ชาวกันตังและเทศบาลเมืองกันตังเห็นว่าบ้านหลังนี้ คือหลักฐานสำคัญทาง ประวัติศาสตร์ที่ควรรักษาไว้คู่เมืองตรัง จึงได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดง ชีวิตและผลงานของท่านพระยารัษฏานุประดิษฐ์ ชีวิตและผลงานของพระยารัษฏาน่าสนใจ และน่าศึกษาเป็นอย่างมาก หากใครได้มีโอกาสเดินทางมาที่อำเภอกันตังควรอย่าง ยิ่งที่จะต้องไปเยี่ยมเยือนพิพิธภัณฑ์พระยารัษฏา ฯ มี รูปถ่ายมากมายที่ตั้งแสดงอยู่ภายใน กลายเป็นหลักฐานจารึกว่า กว่า 100 ปี ในตรัง จะเห็นว่าพระยารัษฏา ฯ เป็นนักเล่นกล้องถ่ายรูปรุ่นแรก ๆ ของประเทศไทย กล้องถ่ายรูปพร้อมอุปกรณ์เก่าแก่ยังคงอยู่ที่นี่ ภายในพิพิธภัณฑ์มีภาพถ่ายสถานที่ ภาพตัวบุคคลตั้งแต่ ถ่ายภาพร่วมกับพระเจ้าอยู่หัว เจ้านาย เรื่อยมาจนถึงชาวบ้านระดับล่างสุด เครื่องใช้ไม้สอย ชุดเฟอร์นิเจอร์ ตู้โต๊ะ ที่สั่งต่อโดยฝีมือช่างชาวจีน และเตียงนอนแบบยุโรปสมัย ร .5 ซึ่งแต่ละชิ้นล้วนมีค่าเก่าแก่ล้ำค่า และภาพพิธีแห่ศพของท่านพระยารัษฏา ฯ ในปีนังเพื่อลงเรือมาเมืองไทย ขณะนั้นอังกฤษปกครองอยู่ แต่ถึงขนาดที่ปีนังต้องปิดถนนหลายสายในพิธีแห่ ศพ มีภาพเก่าหลายภาพที่ปรากฏภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้หรือ เครื่องใช้อื่น ๆ การแบ่งสัดส่วนในการจัดห้องแต่ละห้อง และหุ่นขี้ผั้งรูปท่านพระยารัษฏา ฯ มาที่กันตังแล้วควรแวะมาศึกษาข้อมูลที่น่าสนใจในอดีตของกันตัง เพราะที่ นี่คือแหล่งเรียนรู้ที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง สมกับที่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณ ค่าของ ชาวตรังและเมืองตรัง

คนเฒ่า คนแก่เล่าว่า ในสมัยตั้งแต่เริ่มสร้างเมืองกันตัง พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ได้จับจองที่ดินบนเนินเตี้ยๆ สำหรับสร้างบ้านพัก ซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกว่าในควน ส่วนท่านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเรียกบ้านหลังนี้ว่า "ควนรัษฎา" เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ถึงแก่อนิจกรรม บ้านตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ทายาทตระกูล ณ ระนอง เป็นผู้ดูแลรักษาในปัจจุบัน

บรรยากาศภายในบ้านได้ตกแต่ง เสมือนครั้งพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี มีชีวิตอยู่ เครื่องเรือน เครื่องใช้อยู่ภายในห้องต่างๆ ตามประโยชน์ใช้สอย เช่น เตียงนอน โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องครัว ภายในห้องครัวหรือเครื่องใช้ภายในห้องน้ำและบริเวณรอบๆ ห้องยังเต็มไปด้วยภาพถ่าย เหตุการณ์สำคัญของเมืองตรังและหัวเมืองปักษ์ใต้

ท่านสามารถ เยี่ยมชม ที่นี่ ได้หลายวิธี ครับ เช่น เหมารถยนต์ไปเที่ยว หรือไปกับทัวร์ซึ่งก็มีหลายแพคเกจที่ได้มาแวะที่นี่ครับ เป็นอีกที่ท่องเที่ยวที่ไม่น่าพลาดในการเยี่ยมชมครับ

พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 - 16.30 น. ยกเว้นวันจันทร์ (ถ้าตรงกับวันหยุดราชการเปิดตามปกติ) ถ้าหากผู้เข้าชมเป็นคณะที่ต้องการวิทยากรบรรยาย สามารถแจ้งล่วงหน้าที่ โรงเรียนกันตังพิทยากร โทร. (075) 274 -151-8 พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี อยู่ห่างจากเทศบาลกันตังประมาณ 200 เมตร

12 ธันวาคม 2553

สระกะพังสุรินทร์/ Sa Kraphang Surin


สระกระพังสุรินทร์ เป็นสระน้ำธรรมชาติกว้างประมาณ 50 ไร่ มีปลาเลี้ยงสวยงาม ต่างสีต่างพันธุ์และมี บัวสีในบริเวณสระ มีสะพานคอนกรีตเชื่อมไปสู่ศาลากลางน้ำที่สร้างไว้อย่างสวยงามเชื่อมถึงกันทั้ง 3 ศาลา รอบ ๆ บริเวณได้รับการแต่งเป็นสวนสวยงาม มีสวนสัตว์และภัตตาคาร ร้านอาหารใต้ร่มไม้ไว้บริการแก่ ผู้เข้าไปเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การพักผ่อนยามเย็น เพราะตั้งอยู่ไม่ไกลจากบริเวณ อนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐฯ เท่าใดนัก

น้ำตกอ่างทอง


น้ำตกอ่างทอง ต.ไม้ฝาด ริมถนนสายตรัง-สิเกา ห่างจากตัวเมืองตรัง 21 กม. อ.สิเกา จ.ตรัง


ลักษณะของเน้ำตกแห่งนี้มีเพียงชั้นเดียว มีความสูงจากผาที่มีน้ำไหลลดหลั่นลงมาสู่พื้นน้ำประมาณ 20 เมตร เป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ สีของหินที่น้ำตกเป็นดำแกมเหลือง จึงเป็นที่มาของคำว่า "น้ำตกอ่างทอง" สายน้ำที่ไหลเป็น 2 สายด้วยกัน ทำให้เกิดความสวยงามและสามารถลงเล่นน้ำได้

Share

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites